ประชาคมชุมชน
โครงการประชุมประชาคมชุมชนนครนนทบุรี ประจำปี 2561
การพัฒนาเทศบาลนครนนทบุรีในระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561 – 2564)
1. หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งในระดับชุมชน ระดับภาค และระดับประเทศ โดยการสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีระบบที่มีประสิทธิภาพ และสามารถให้การบริการสาธารณะตอบสนองความต้องการของประชาชน เพื่อมุ่งสู่ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2552 มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อ จัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
หมวด 3 การจัดทำแผนพัฒนา
ข้อ 17 การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี ให้ดำเนินการตาม
(1) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นจัดประชุมประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น รับทราบปัญหา ความต้องการ ประเด็น การพัฒนา และประเด็นที่เกี่ยวข้องตลอดจนความช่วยเหลือทางวิชาการ และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อนำมากำหนด แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี โดยให้นำข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาจากหน่วยงานต่างๆ และข้อมูลในแผนพัฒนาหมู่บ้านหรือแผนชุมชนมาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
(2) คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น รวบรวมแนวทางและข้อมูลนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีแล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
(3) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นพิจารณาร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีเพื่อเสนอผู้บริหารท้องถิ่น
(4) ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี และประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
หมวด 4 การแก้ไข การเพิ่มเติมหรือการเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนา
ข้อ 22 เพื่อประโยชน์ของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีได้ โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
(1) คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นจัดทำร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงพร้อมเหตุผล และความจำเป็นเสนอคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
(2) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นและประชาคมท้องถิ่นพิจารณาร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อเสนอผู้บริหารท้องถิ่น
(3) ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง และประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีที่เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง
ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.2/ว 0600 ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559 เรื่อง แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.3/ว 5797 ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้แจ้งมาเพื่อให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติตามรูปแบบการจัดประชุมประชาคมท้องถิ่นสำหรับเทศบาลนคร
สถานการณ์ปัจจุบันของจังหวัดนนทบุรี ที่กำลังมีการเจริญเติบโตของความเป็นเมืองสูง มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะทางด้านการคมนาคมซึ่งได้เปิดให้บริการเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงไปแล้ว และที่กำลังจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ได้มอบนโยบายเชิงรุกของจังหวัดนนทบุรี 7-Nonthaburi โดยมีแนวทางการพัฒนาตามวาระ “นนทบุรี 4.0 : คุณภาพ มาตรฐาน นวัตกรรม และยั่งยืน” ซึ่งส่งผลต่อการบริหารงานของเทศบาลนครนนทบุรีในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะพื้นฐานแก่ประชาชนและการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น ที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรี โดยเฉพาะกลุ่มวัยเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ การพัฒนาเมืองเพื่อให้มีความสะดวก สะอาด สบาย และปลอดภัย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเข้าถึงบริการทางสังคม บริการทางสุขภาพและโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพได้อย่างสะดวกทั่วถึง
ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนและผู้แทนจากทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี(พ.ศ. 2561 – 2564) และแผนเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 ของเทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลจึงได้จัดการประชุมประชาคมชุมชนนครนนทบุรีประจำปี 2561 การพัฒนาเทศบาลนครนนทบุรีในระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561 – 2564) ขึ้นเพื่อแจ้งแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น รับทราบปัญหา ความต้องการของประชาชนและประเด็นการพัฒนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับประโยชน์ ร่วมแก้ปัญหา ปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาสำหรับการพัฒนาท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทำให้การดำเนินงานมีความสุจริต โปร่งใส เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามขั้นตอนและบรรลุวิสัยทัศน์ “นครนนท์เมืองน่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบริการที่เป็นเลิศ และบริหารจัดการที่ดี”
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) เพิ่มเติม ฉบับที่ 1 และใช้เป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติม งบประมาณจากเงินสะสมแต่ละปี ของเทศบาลนครนนทบุรี
2.2 เพื่อแจ้งแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น ตามแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) ของเทศบาลนครนนทบุรี และรับทราบปัญหา ความต้องการของประชาชน ประเด็นการพัฒนาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ของเทศบาลนครนนทบุรี
2.3 เพื่อให้เกิดการตรวจสอบเมืองของตนเองและประยุกต์การพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของเมือง โดยนำผลสรุปจากการประชุมรวมทั้งความคิดเห็นที่ได้นำเสนอผู้บริหารท้องถิ่น
3. เป้าหมาย
คณะกรรมการพัฒนาเทศบาลนครนนทบุรี และประชาคมชุมชนนครนนทบุรี ประกอบด้วย
3.1 สมาชิกสภาเทศบาลนครนนทบุรี จำนวน 21 คน
3.2 ท้องถิ่นอำเภอเมืองนนทบุรี จำนวน 1 คน
3.3 ปลัดอำเภอเมืองนนทบุรี จำนวน 1 คน
3.4 ประธานชุมชน จำนวน 93 คน
3.5 ผอ.ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล/ผอ.ร.พ. ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 5 คน
3.6 ผอ.ร.ร.รัฐ/เอกชนหรือหน่วยการศึกษาอื่น ๆ ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 5 คน
3.7 หัวหน้าส่วนราชการหรือตัวแทนราชการ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 5 คน
3.8 กรรมการชุมชน ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 93 คน
3.9 อสม. ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 4 คน
3.10 อปพร. ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 4 คน
3.11 คณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 4 คน
3.12 กลุ่มอาชีพต่างๆ ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 10 คน
3.13 ผู้ทรงคุณวุฒิ/ปราชญ์ชุมชน ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 4 คน
3.14 อาสาพัฒนาชุมชน อาสาสมัครประชาสงเคราะห์ เยาวชน
หมอดิน กลุ่มพลังทางสังคมอื่นๆ ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 10 คน
3.15 ชมรมผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 4 คน
3.16 องค์กรทางธุรกิจ/ชมรมธุรกิจ/การค้า/การลงทุนอุตสาหกรรม/
การท่องเที่ยว ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 5 คน
3.17 สื่อมวลชน ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 2 คน
3.18 ประธานหอการค้าจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด จำนวน 2 คน
3.19 วุฒิอาสาธนาคารสมองจังหวัดนนทบุรี จำนวน 10 คน
3.20 คณะผู้บริหารเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ/เจ้าหน้าที่เทศบาล จำนวน 17 คน
รวมทั้งสิ้นประมาณ 300 คน
4. วิธีการดำเนินการ
4.1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อนายกเทศมนตรี
4.2 ประชุมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เพื่อจัดเตรียม และวางแผนดำเนินการประชุม
4.3 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการประชุม
4.4 เตรียมเอกสารเชิญประชุมประชาคมชุมชนนครและเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
4.5 จัดการประชุมประชาคมชุมชนนครนนทบุรี
4.6 สรุปผลการประชุม
5. ระยะเวลาดำเนินการ
จัดประชุมประชาคมชุมชนนครนนทบุรี ประจำปี 2561 มีกำหนด 1 วัน ในวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2560
6. สถานที่ดำเนินการ
ห้องประชุม ชั้น 5 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (แยกสนามบินน้ำ) เทศบาลนครนนทบุรี
7. งบประมาณ
งบประมาณรายจ่ายทั่วไปประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 กองวิชาการและแผนงาน แผนงานบริหารงานทั่วไป งานวางแผนสถิติและวิชาการ หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่นๆ โครงการจัดอบรมประชุมประชาคมชุมชนนครนนทบุรี จำนวน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) รายละเอียดแนบท้ายโครงการ
8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลนครนนทบุรี
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
9.1 ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เกิดการบูรณาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ท้องถิ่น ในการพัฒนาเทศบาลนครนนทบุรี
9.2 เทศบาลนครนนทบุรีได้รับทราบสภาพปัญหา ความต้องการของชุมชน และประชาชนในพื้นที่
9.3 การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี มีประเด็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับปัญหาความต้องการ ของประชาชนในท้องถิ่นสามารถใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่น
ประชาคมเมือง
โครงการประชุมประชาคมชุมชนนครนนทบุรี ประจำปี 2560
นครนนท์ 4.0 “สะดวก สะอาด สบาย และปลอดภัย”
1. หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งในระดับชุมชน ระดับภาค และระดับประเทศ โดยการสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีระบบที่มีประสิทธิภาพ และสามารถให้การบริการสาธารณะตอบสนองความต้องการของประชาชน เพื่อมุ่งสู่ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2552 มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
ข้อ 17 การจัดทำแผนพัฒนาสี่ปี ให้ดำเนินการตามระเบียบนี้ โดยมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
(1) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นจัดประชุมประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น รับทราบปัญหา ความต้องการ ประเด็นการพัฒนา และประเด็นที่เกี่ยวข้องตลอดจนความช่วยเหลือทางวิชาการ และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อนำมากำหนด แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี โดยให้นำข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาจากหน่วยงานต่างๆ และข้อมูลในแผนพัฒนาหมู่บ้านหรือแผนชุมชนมาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาสี่ปี
ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.2/ว 0600 ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559 เรื่อง แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.3/ว 5797 ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ได้แจ้งมาเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติตามรูปแบบการจัดประชุมประชาคมท้องถิ่นสำหรับเทศบาลนคร
สถานการณ์ปัจจุบันของจังหวัดนนทบุรี ที่กำลังมีการเจริญเติบโตของความเป็นเมืองสูง มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะทางด้านคมนาคมซึ่งได้เปิดให้บริการเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงและที่สำคัญผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ได้มอบนโยบายเชิงรุกของจังหวัดนนทบุรี 7-Nonthaburi และแนวทางการพัฒนาตามวาระ “นนทบุรี 4.0 : คุณภาพ มาตรฐาน นวัตกรรม และยั่งยืน” ซึ่งส่งผลต่อการบริหารงานของเทศบาลนครนนทบุรีในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะพื้นฐานแก่ประชาชนและการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น ที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรี โดยเฉพาะกลุ่มวัยเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ การพัฒนาเมืองเพื่อให้มีความสะดวก สะอาด สบาย และปลอดภัย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเข้าถึงบริการทางสังคม บริการทางสุขภาพ และโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพได้อย่างสะดวกทั่วถึง
ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำแผนพัฒนาสี่ปี (พ.ศ.2561-2564) ของเทศบาลนครนนทบุรี ได้ดำเนินการภายใต้หลักประชารัฐ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับประโยชน์ ร่วมแก้ปัญหา ปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาสำหรับการพัฒนาท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทำให้การดำเนินงานมีความสุจริต โปร่งใส เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามขั้นตอนและบรรลุวิสัยทัศน์ “นครนนท์เมืองน่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบริการที่เป็นเลิศ และบริหารจัดการที่ดี” จึงได้จัดให้มีการประชุมประชาคมชุมชนนครนนทบุรี ขึ้นเพื่อแจ้งแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น รับทราบปัญหา ความต้องการของประชาชนและประเด็นการพัฒนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการก้าวไปสู่นครนนท์ 4.0 นครแห่งความ “สะดวก สะอาด สบาย และปลอดภัย”
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) และใช้เป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบประมาณจากเงินสะสมแต่ละปี ของเทศบาลนครนนทบุรี
2.2 เพื่อแจ้งแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น รับทราบปัญหา ความต้องการของประชาชน ประเด็นการพัฒนาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ของเทศบาลนครนนทบุรี
2.3 เพื่อให้เกิดการตรวจสอบเมืองของตนเองและประยุกต์การพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของ เมือง โดยนำผลสรุปจากการประชุมกลุ่มย่อยต่างๆ รวมทั้งความคิดเห็นที่ได้นำเสนอผู้บริหารท้องถิ่น
3. เป้าหมาย
คณะกรรมการพัฒนาเทศบาลนครนนทบุรี และประชาคมชุมชนนครนนทบุรี ประกอบด้วย
3.1 สมาชิกสภาเทศบาลนครนนทบุรี จำนวน 21 คน
3.2 ท้องถิ่นอำเภอเมืองนนทบุรี จำนวน 1 คน
3.3 ปลัดอำเภอเมืองนนทบุรี จำนวน 1 คน
3.4 ประธานชุมชน จำนวน 6 คน
3.5 ผอ.ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล/ผอ.ร.พ. ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 5 คน
3.6 ผอ.ร.ร.รัฐ/เอกชนหรือหน่วยการศึกษาอื่นๆ ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 5 คน
3.7 หัวหน้าส่วนราชการหรือตัวแทนราชการ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 5 คน
3.8 กรรมการชุมชน ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 6 คน
3.9 อสม. ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 4 คน
3.10 อปพร. ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 4 คน
3.11 คณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 4 คน
3.12 กลุ่มอาชีพต่างๆ ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 10 คน
3.13 ผู้ทรงคุณวุฒิ/ปราชญ์ชุมชน ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 4 คน
3.14 อาสาพัฒนาชุมชน อาสาสมัครประชาสงเคราะห์ เยาวชน
หมอดิน กลุ่มพลังทางสังคมอื่นๆ ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 10 คน
3.15 ชมรมผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 4 คน
3.16 องค์กรทางธุรกิจ/ชมรมธุรกิจ/การค้า/การลงทุนอุตสาหกรรม/
การท่องเที่ยว ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 10 คน
3.17 สื่อมวลชน ในเขตเทศบาลฯ จำนวน 3 คน
3.18 ประธานหอการค้าจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด จำนวน 2 คน
3.19 วุฒิอาสาธนาคารสมองจังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 คน
3.20 คณะผู้บริหารเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ/เจ้าหน้าที่เทศบาล จำนวน 35 คน
3.21 ประชากรที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง/ตัวแทนครัวเรือนในเทศบาลฯ จำนวน 830 คน
รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,000 คน
4. วิธีการดำเนินการ
1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อนายกเทศมนตรี
2. ประชุมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เพื่อจัดเตรียม และวางแผนดำเนินการประชุม
3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการประชุม
4. เตรียมเอกสารเชิญประชุมประชาคมชุมชนนครและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5. จัดการประชุมประชาคมชุมชนนครนนทบุรี
6. สรุปประเมินผลการประชุมและรายงานให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบ
5. ระยะเวลาดำเนินการ
จัดประชุมประชาคมชุมชนนครนนทบุรี ประจำปี 2560 มีกำหนด 1 วัน ในวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2559
6. สถานที่ดำเนินการ
ห้องประชุม ชั้น 5 สำนักงานเทศบาลนครนนทบุรี อาคาร 2
7. งบประมาณ
งบประมาณรายจ่ายทั่วไปประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 กองวิชาการและแผนงาน แผนงานบริหารงานทั่วไป งานวางแผนสถิติและวิชาการ หมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่นๆ โครงการจัดอบรมประชุมประชาคมเมือง จำนวน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) รายละเอียดแนบท้ายโครงการ
8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลนครนนทบุรี
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เกิดการบูรณาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ท้องถิ่น ในการพัฒนาเทศบาลนครนนทบุรี
2. เทศบาลนครนนทบุรีได้รับทราบสภาพปัญหา ความต้องการของชุมชน และประชาชนในพื้นที่