ภาษา
ปรับขนาดตัวอักษร
"นครนนท์เมืองน่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบริการที่เป็นเลิศ และบริหารจัดการที่ดี"
เบอร์โทรศัพท์ :
รหัสผ่าน :
 
 
ข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสีย

บทนำ

โรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ   พื้นที่ประชานิเวศน์

เทศบาลนครนนทบุรี   จังหวัดนนทบุรี

          เทศบาลนครนนทบุรี  จังหวัดนนทบุรี  เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยอันดับหนึ่ง มีอาณาเขต 38.9 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่มีความคล้ายคลึงกับกรุงเทพมหานคร  ทำให้มีการขยายตัวทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมอย่างรวดเร็ว อีกทั้งประชากรส่วนใหญ่เป็นประชากรที่เข้ามาศึกษาและทำงานในจังหวัดใกล้เคียงทำให้การเพิ่มขึ้นของประชากรเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  ส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นหลายปัญหาเช่น ปัญหาขยะ, อาชญากรรม, การจราจร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาน้ำเสีย

          ปี พ.ศ.2538 กรมโยธาธิการได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 616.63 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างระบบระบายน้ำและบำบัดน้ำเสีย พื้นที่ประชานิเวศน์ ระยะที่ 1 ขึ้น ณ หมู่บ้านประชานิเวศน์3 ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้ 38,500 ลบ.ม.ต่อวัน

          ปี พ.ศ.2544 – ปัจจุบัน เทศบาลนครนนทบุรีได้รับมอบโรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ พื้นที่ประชานิเวศน์ จากกรมโยธาธิ-การและได้ดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสีย ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเทศบาลนครนนทบุรีได้สนับสนุนงบประมาณประจำปีในการบำบัดน้ำเสียมาโดยตลอด โดยเฉลี่ย 1.50 บาท/ลบ.ม.

 

รายละเอียดระบบบำบัดน้ำเสีย

พื้นที่บริการ

11.2 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 29 ของพื้นที่เทศบาล  (38.9 ตารางกิโลเมตร)

 

 

ลักษณะระบบโดยรวม

 

ระบบรวบรวมน้ำเสีย

  • ระบบระบายน้ำ ความยาว 7,214 เมตร
  • ระบบรวบรวมน้ำเสีย ความยาว 6,446 เมตร
  • บ่อดักน้ำเสีย 11 บ่อ
  • สถานีสูบน้ำเสีย จำนวน 1 แห่ง
  • สถานีสูบน้ำฝน คลองส่วย จำนวน 1 แห่ง
  • ระบบบำบัดแบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge)

ชนิดคลองวนเวียน (Oxidation Ditch)

  • เครื่องตักขยะอัตโนมัติ 3 เครื่อง
  • เครื่องสูบน้ำเสีย 4 เครื่อง
  • บ่อเติมอากาศและบ่อตกตะกอน 4 ชุด
  • ควบคุมและเดินระบบตลอด 24 ชั่วโมง
  • ห้องปฏิบัติการมาตรฐานเพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
  • ระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถใช้งานป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ประชานิเวศน์ได้อย่างดี
  • มูลค่างานก่อสร้างทั้งสิ้น 63 ล้านบาท
  • ก่อสร้างแล้วเสร็จ 6 ม.ค. 2544
  • เทศบาลนครนนทบุรี รับมอบระบบ 24 พ.ค. 2544

เป้าหมาย

  1. รวบรวมและบำบัดน้ำเสียจากชุมชนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
  2. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เทศบาลนครนนทบุรี เป็นที่พักอาศัยอันดับ 1 ดังคำขวัญ
    “นครนนท์  เมืองน่าอยู่  สู่ความยั่งยืน”
  3. ยกระดับสภาพแวดล้อมของชุมชนและลดมลภาวะของน้ำ ที่ระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

 

ปัจจุบันได้เปิดบริการบำบัดน้ำเสียจากชุมชนแล้ว